รับรองลายมือชื่อและเอกสาร

รับรองโนตารี พับลิค (Notary Public)

โนตารี พับลิค (Notara Public) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

เมื่อต้องทำธุรกรรมทางด้านกฎหมายหรือการเดินเรื่องเอกสารที่ต้องมีการใช้บุคคลรับรองลายมือชื่อ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ การติดต่อ Notary Public ที่ทำหน้าที่รับรองลายมือชื่อที่ลงนามในเอกสารนั้นๆ ซึ่งหลายคนเมื่อได้ยินว่าต้องหา Notary Public เพื่อรับรองเอกสาร ก็อาจจะรู้สึกสงสัยว่า Notary Public คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ดังนั้น จึงต้องมาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน

คนที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หรืออยู่อาศัยในต่างประเทศ อาจจะคุ้นเคยกับ Notary Public ดี เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องเดินเรื่องเอกสารสำหรับไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือส่งเอกสารติดต่อทำธุรกรรมต่างๆ ในต่างประเทศ จะต้องมีการใช้ Notary Public เพื่อรับรองลายมือชื่อและคำแปลในเอกสารต่างๆ ว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้อง ดังนั้น Notary Public ก็คือบุคคลที่ทำหน้าที่ในการรับรองเอกสารและลงลายมือชื่อในฐานะพยานของเอกสารนั้นๆ

การส่งเอกสารไปยังต่างประเทศเพื่อติดต่อทำธุรกรรมต่างๆ จะต้องมีการแปลภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง เช่น แปลจากไทยเป็นอังกฤษและแปลจากอังกฤษเป็นไทย เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและสามารถดำเนินเอกสารตามขั้นตอนต่างๆ ได้ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าเอกสารที่แปลนั้นมีความถูกต้อง ไม่มีอะไรหรือข้อความใดในเอกสารที่ขัดต่อกฎหมาย รวมถึงรับรองข้อเท็จจริงและความมีอยู่จริงของเอกสาร ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็จะได้ Notary Public เป็นผู้รับรองเอกสารเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมระหว่างกัน

ในต่างประเทศ จะมีบริการ Notary Public เพื่อทำหน้าที่รับรองเอกสาร แต่ในประเทศไทยนั้นบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็น Notary Public ก็คือบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือสูง อย่างทนายความที่มีใบอนุญาตจากสภาทนายความแห่งประเทศไทยเท่านั้น โดยสภาทนายความได้มีการจัดตั้งสำนักงานทะเบียนเพื่อรับรองลายมือชื่อและเอกสารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 และต่อมาก็ได้มีการจัดอบรมให้แก่ทนายความเพื่อให้มีความรู้ในการทำหน้าที่ Notary Public อย่างเช่นเรื่องของการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร รวมทั้งมีการจัดทำวุฒิบัตรมอบให้กับผู้ผ่านการอบรมเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ตามมาตรฐาน ได้เป็นอย่างดีและได้ชื่อว่าเป็น Notarial Services Attorney ที่ทำหน้าที่ในการรับรองเอกสาร รับรองข้อเท็จจริงและความมีอยู่จริงของเอกสาร ซึ่งมีอำนาจเช่นเดียวกับ Notary Public

หน้าที่ของ Notary Public มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ทั้งการรับรองลายมือชื่อและรับรองคำแปลเอกสาร, รับรองสำเนาเอกสารว่าเป็นความจริง, รับรองข้อเท็จจริง, รับรองตัวบุคคล, รับรองความมีอยู่จริงของเอกสาร, จัดทำคำบันทึกให้การ, จัดทำคำสาบาน โดยการบันทึกคำให้การที่มีการสาบาน รวมถึงทำคำคัดค้านตราสารและหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในการให้คำรับรองนั้นทนายความที่ทำหน้าที่ Notary Public จะทำหน้าที่ตามความเป็นจริงโดยไม่เลือกปฏิบัติ และให้การรับรองเอกสารรวมถึงการยืนยันตัวตนต่างๆ ตามความเป็นจริงเท่านั้น

เมื่อทราบหน้าที่และความสำคัญของ Notary Public เช่นนี้แล้ว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องหาผู้ทำหน้าที่ที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้เอกสารของคุณมีความสมบูรณ์และได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบันนี้คุณสามารถหา Notary Public ที่ได้รับการรับรองและมีความน่าเชื่อถือได้อย่างไม่ยากนัก เพื่อให้การยืนยันเอกสารเป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ทำให้การดำเนินการธุรกรรมต่างๆ ในต่างประเทศเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว

ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ( Notarial Services Attorney )   บริการรับรองเอกสาร เอกสารคำแปล รับรองลายมือชื่อ รับรองเอกสารเพื่อนำไปใช้ในต่างประเทศเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ รับรองบุคคล ว่ามีอยู่แท้จริง รับรองลายมือชื่อกรรมการ ฐานะนิติบุคคลตำแหน่งและอำนาจของผู้ลงลายมือชื่อในเอกสารเพื่อยื่นต่อกรม พัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร มีหน้าที่ดังนี้

(1.) รับรองนิติกรรมที่เอกชนทำขึ้น

(2.) รับรองคำแปลเอกสาร

(3.) รับรองข้อเท็จจริง

(4.) รับรองสำเนาเอกสาร

(5.) รับรองความมีอยู่ของเอกสาร

(6.) จัดทำคำสาบาน

(7.) จัดทำบันทึกคำให้การ

(8.) ทำคำคัดค้านตราสาร

(9.) รับรองตัวบุคคล,รับรองลายมือชื่อในเอกสาร

(10.) ทำหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด

การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร

(1.) ทนายความผู้ทำคำรับรอง จะถือว่างานในหน้าที่นี้เป็นการบริการต่อสาธารณชน จึงต้องให้บริการโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ

(2.) ในการปฏิบัติหน้าที่ทนายความผู้ทำคำรับรอง จะทำหน้าที่ในฐานะพยานรู้เห็นโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และไม่เห็นแก่เงินสินจ้างหรือค่าตอบแทนเว้นแต่ค่าธรรมเนียมตามสมควรหรือตาม ที่กฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบของสภาทนายกำหนดไว้

(3.) ในการรับรองลายมือชื่อของบุคคลหรือคำสาบานของบุคคล ทนายความผู้ทำคำรับรอง จะต้องให้ผู้ลงลายมือชื่อหรือให้คำสาบานมาปรากฏตัวด้วยตนเองและจะต้องตรวจ สอบบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลนั้นๆ รวมทั้งความสมัครใจและต้องให้แน่ใจว่าบุคคลที่จะลงลายมือชื่อหรือให้คำสาบาน ตนนั้นทราบถึงความสำคัญของการลงลายมือหรือคำสาบานนั้นด้วย

(4.) ทนายความผู้ทำคำรับรอง จะต้องไม่ออกคำรับรองเท็จ หรือคำรับรองที่ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้งจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับเอกสารหรือธุรกรรมใดๆ ที่เป็นเท็จมีลักษณะหลอกลวงหรือฉ้อฉล

(5.) ทนายความผู้ทำคำรับรอง จะต้องให้ความสำคัญแก่ความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้โดยเอกสารและ การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายยิ่งกว่าความต้องการหรือความคาดหวังของบุคคลที่มา ขอให้ทำคำรับรอง

(6.) ทนายความผู้ทำคำรับรอง พึงกระทำการเฉพาะในสิ่งที่เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจงของตนเท่านั้น ไม่พึงก้าวล่วงไปให้คำแนะนำหรือทำคำรับรองนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือตามประเพณีปฏิบัติเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ทนายความผู้ทำคำรับรอง

(7.) ในกรณีที่ต้องใช้ตราประทับ ทนายความผู้ทำคำรับรองจะต้องระมัดระวังเก็บรักษาดวงตราไว้เพื่อการรับรองโดย เคร่งครัด และต้องไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นใดนำดวงตราดังกล่าวไปใช้เพื่อการใดๆ โดยเด็ดขาด

(8.) ในการปฏิบัติหน้าที่ทนายความผู้ทำคำรับรอง จะต้องทำการบันทึกและเก็บสำเนาเอกสารการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายความผู้ทำ คำรับรอง ในสมุดบันทึกงานทุกรายการ และต้องเก็บรักษาสมุดบันทึกดังกล่าวไว้ที่สำนักงานของตน หรือในที่ปลอดภัยอื่นๆ

(9.) ทนายความผู้ทำคำรับรอง พึงต้องเคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่มาใช้บริการ และจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหรือความลับที่ตนได้รับมาเนื่องจาก หน้าที่ทนายความผู้ทำคำรับรองเพื่อการใดๆ เว้นแต่ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายความผู้ทำคำรับรองหรือมี กฎหมายหรือคำสั่งศาลให้เปิดเผยได้

(10.) ทนายความผู้ทำคำรับรอง จะปฏิบัติหน้าที่เมื่อได้รับการร้องขอเท่านั้น และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือประเพณีที่มีอยู่ในขณะนั้น

 

 3,057 ผู้เข้าชมเว็บไซต์,  4 views today