รับว่าความ คดีแพ่งและอาญา

รับว่าความ คดีแพ่งและอาญา

ความสำคัญในการว่าจ้างทนาย และข้อแนะนำในการเลือกทนายความ

เมื่อเราต้องขึ้นศาลหรือเกิดกรณีพิพาทที่ไม่สามารถตกลงกันได้และต้องมีข้อกฎหมายมาเกี่ยวข้อง สิ่งแรกที่เราจะนึกถึง ก็คือ “ทนาย” เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงความสำคัญในการว่าจ้างทนาย และข้อแนะนำดีๆ ในการเลือกทนายความให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดครับ

การจ้างทนายมีความสำคัญมากครับ เพราะว่าจะช่วยให้เราไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย และเสียเวลากับการไปศาล เพราะเราสามารถมอบหมายให้ทนายดำเนินการแทน  รวมไปถึงทนายส่วนใหญ่นั้นจะรู้ข้อกฎหมายปลีกย่อยต่างๆ ที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้เราได้ครับ และที่สำคัญยังทำให้เราไม่เครียดหรือสติแตกเมื่อถูกฟ้องร้องและต้องไปขึ้นศาล เพราะว่าทนายจะคอยแนะนำเราทุกอย่างเลยครับ  และที่สำคัญยังช่วยประหยัดเงินและเวลาด้วย

สำหรับข้อแนะนำในการเลือกทนายในเบื้องต้นคือเราต้องตรวจสอบเรื่องใบอนุญาตทนายความหรือบัตรประจำตัวทนายความที่ออกโดยสภาทนายความให้สามารถว่าความได้นั่นเองครับ ซึ่งใบอนุญาตนี้จะบอกคุณได้ว่าทนายคนนี้ได้รับการฝึกฝนในด้านของกฎหมายเป็นผู้ที่มีความรู้จริง  มีจรรยาบรรณในวิชาชีพและสามารถใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางที่ดีคุณต้องถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวนี้ไว้ตรวจสอบก่อนว่าจ้างด้วยนะครับ และควรตรวจสอบว่าสำนักงานทนายที่คุณไปหาทนายให้มาว่าจ้างนั้นมีการขึ้นทะเบียนกับสภาทนายความหรือไม่ หรือถ้าหากเปิดเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนก็ต้องดูว่าขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจหรือไม่ครับ

เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นสำนักงานทนายที่ได้มาตรฐาน และสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยนั้นคือ ทนายคนที่เราจะจ้างนั้นมีความสัมพันธ์กับคู่กรณีของเราหรือไม่  เคยเป็นที่ปรึกษากันมาก่อนหรือไม่   เพราะว่าความลับของเราอาจรั่วไหลได้ถ้าทนายที่จ้างไม่มีจรรยาบรรณมากพอ

และที่สำคัญมากๆ คือค่าใช้จ่ายในการจ้างทนาย  ซึ่งแต่ละคนนั้นคิดไม่เหมือนกันครับ เช่น อาจเรียกค่าใช้จ่ายและค่าทนายแบบเหมาจ่ายทั้งสามศาล  หรือรายศาล และอาจจะเรียกค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริงแยกกับค่าทนายก็ได้ครับ สำหรับค่าทนายนั้นทนายบางคนจะเรียกค่าใช้จ่ายและค่าทนายเป็นการเหมาจ่ายตลอดทั้งสามศาล   หรือเหมาจ่ายเป็นรายศาล บางรายจะเรียกค่าใช่จ่ายตามที่จ่ายจริงแยกต่างหากจากค่าทนาย

ส่วนค่าทนายนั้นก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการดำเนินคดีและความมีชื่อเสียงของทนายแต่ในส่วนของสำนักงานทนายก็มีวิธีการคิดค่าทนายหลายแบบเช่น เป็นร้อยละจากทุนทรัพย์ที่พิพาท คิดเป็นรายชั่วโมงของการทำงานของทนาย  คิดเป็นรายครั้งที่ต้องไปว่าความที่ศาลก็ได้ครับ ซึ่งสิ่งสำคัญคือต้องดูที่ผลงานและความเป็นไปได้ครับ

และหลังจากที่ตรวจสอบรายละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับตัวทนายและสำนักงานทนายแล้วก็เริ่มในส่วนของคดีได้เลยครับ  ไม่ว่าจะเป็นให้รายละเอียดเกี่ยวกับคดี การทำสัญญาจ้างว่าความ  การเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับคดี  การให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของคดี และสอบถามทนายทันทีหากมีข้อสงสัยครับ

นี่คือความสำคัญในการจ้างทนายและข้อเสนอแนะในการเลือกทนาย  ซึ่งจะทำให้คุณมองเห็นความจำเป็นในการจ้างทนายให้ว่าความและเป็นที่ปรึกษาในด้านกฎหมาย รวมถึงข้อเสนอแนะให้คุณสามารถเลือกทนายที่ดีเพื่อตัวคุณและบริษัทของคุณได้ครับ

บริษัท ทนายไซเบอร์ จำกัด ให้บริการรับว่าความ  โดยมีรายละเอียดดังนี้

(1.) รับเป็นทนายว่าความในการร้องขอต่อศาลในคดีแพ่งและอาญา ดังนี้

-ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

-ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก

-ร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดิน

-ร้องขอทำนิติกรรมขายที่ดินแทนผู้เยาว์

-ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

-ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

-ร้องขอให้ศาลพิพากษาให้เด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายที่เคยเป็นสามี

-ร้องขอตั้งผู้ปกครอง

-ร้องขัดทรัพย์, กันส่วน, เฉลี่ยหนี้

-ร้องขอชำระหนี้จำนอง

-ร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด

-ร้องขอคืนของกลางในคดีอาญา เป็นต้น

(2.) รับเป็นทนายว่าความ (เป็นทนายโจทก์หรือจำเลย) ในคดีแพ่ง ดังต่อไปนี้

-ฟ้องเรียกเงินกู้ (ฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน)

-ฟ้องกู้ยืมและจำนอง

-ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค

-ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ฟ้องละเมิด, บุกรุกที่ดิน, บุกรุกเคหะสถาน

-ฟ้องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์

-ฟ้องละเมิด, ทำร้ายร่างกาย, รถชนกัน, บาดเจ็บ

-ฟ้องแบ่งมรดก

-ฟ้องหย่า, แบ่งสินสมรส, ฟ้องชายหรือหญิงชู้เรียกค่าสินไหมทดแทน

-ฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ

-ฟ้องขับไล่, บุกรุก, ขับไล่ตามสัญญา

-ฟ้องเรียกค่านายหน้า, เรียกค่าจ้าง

-ฟ้องถอนคืนการให้, เพิกถอนการฉ้อฉล

-ภริยาฟ้องสามีให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภริยาและบุตร

-ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์, เช่าซื้อสินค้า

-ฟ้องเปิดทางจำเป็น, ฟ้องเป็นทางภาระจำยอม, ฟ้องขอให้เปิดทางสาธารณะ

-ฟ้องเลิกหุ้นส่วนสามัญ

-ผิดสัญญาบัตรเครดิต, กู้เงินเกินบัญชี, จำนอง, ค้ำประกัน เป็นต้น

(3.) รับเป็นทนายว่าความ (เป็นทนายโจทก์หรือจำเลย) ในคดีอาญา ดังต่อไปนี้

-คดีลักทรัพย์

-คดีรับของโจร

-คดีวิ่งราวทรัพย์

-คดีชิงทรัพย์

-คดีปล้นทรัพย์

-คดีฉ้อโกงทรัพย์

-คดียักยอกทรัพย์

-คดีรีดเอาทรัพย์

-คดีบุกรุกในเคหะสถาน

-คดีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

-คดีข่มขืนกระทำชำเรา

-คดีฆ่าคนตายโดยเจตนา, พยายามฆ่า

-คดีดูหมิ่นเจ้าพนักงาน, ทำร้ายเจ้าพนักงาน

-คดีหมิ่นประมาท

-คดียาเสพติดให้โทษ เป็นต้น

(4.) รับเป็นทนายความ ในคดีพิเศษ ดังนี้

-คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

-คดีล้มละลาย

-คดีภาษีอากร

-คดีปกครอง

-คดีอื่นๆ นอกจากนี้ เป็นต้น

 

 5,372 ผู้เข้าชมเว็บไซต์,  2 views today