งานอันมีลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง


ลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีผู้สร้างสรรค์งานขึ้นมาเท่านั้นครับ ผู้สร้างสรรค์งานตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 บัญญัติว่า “ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

งานอันมีลิขสิทธิ์จะต้องมีการแสดงออกซึ่งผลงานด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ หรือในรูปแบบใดๆ ก็ตาม เช่น หากคิดจะเขียนนิยายอยู่เรื่องหนึ่งแต่ยังไม่ได้เขียนออกมาแค่อยู่ในความคิดแบบนี้ไม่ถือว่าเป็นงานมีลิขสิทธิ์นะครับ เพราะงานที่จะมีลิขสิทธิ์ได้จะต้องแสดงออกมาโดยการเขียนเป็นหนังสือหรือเขียนออกมาโดยวิธีการใดๆ ก็ได้ครับ

งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ ประเภทวรรณกรรม นาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงงานแพร่เสียงแพร่ภาพหรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

ดังนั้น งานอันมีลิขสิทธิ์จะไม่คุ้มครองพวกความคิดที่ยังไม่ได้แสดงออกมา ความคิดที่อยู่ในหัวของเรา หรือไอเดียของเรา แต่ถ้าเรานำความคิดนั้นมาแสดงออกไม่ว่าจะแสดงออกโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือเอามาพูดโดยไม่ได้บันทึกไว้ในวัสดุใด หากมีใครมาบันทึกเผยแพร่ภาพก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ครับ

งานอันมีลิขสิทธิ์มีทั้งหมด 9 งาน ดังนี้

(1.) “งานวรรณกรรม” หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสารสิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้ หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

(2.) “งานนาฎกรรม” หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดง โดยวิธีใบ้ด้วย

(3.) “งานศิลปกรรม” หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือ หลายอย่างดังต่อไปนี้

3.1) งานจิตรกรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้น แสง สี หรือสิ่งอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ลงบนวัสดุอย่าง เดียวหรือหลายอย่าง

3.2) งานประติมากรรม ได้แก่ งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตร ที่สัมผัสและจับต้องได้

3.3) งานภาพพิมพ์ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์ และหมายความรวมถึงแม่พิมพ์หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย

3.4) งานสถาปัตยกรรม ได้แก่ งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอก ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่ง ปลูกสร้างหรือการสร้างสรรค์หุ่นจำลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

3.5) งานภาพถ่าย ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ บันทึกภาพโดยใช้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ำยาซึ่ง มีสูตรเฉพาะหรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพ โดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น

3.6) งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองาน สร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์

3.7) งานศิลปะประยุกต์ ได้แก่ งานที่นำเอางานตาม (1) ถึง (6) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือ จากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น นำไปใช้สอย นำไป ตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า ทั้งนี้ ไม่ว่างานตาม (1) ถึง (7) จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ และให้ หมายความรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย

(4.) “งานดนตรีกรรม” หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลง หรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้อง หรือทำนองอย่างเดียวและให้ หมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยก และเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว

(5.) “งานโสตทัศนวัสดุ” หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดย บันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึง เสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี

(6.) “งานภาพยนตร์” หมายความว่า โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพ ซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ หรือสามารถบันทึกลงบน วัสดุอื่น เพื่อนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึง เสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี

(7.) “งานสิ่งบันทึกเสียง” หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียง ดนตรีเสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใดๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุ นั้นแต่ทั้งนี้มิให้ หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบ โสตทัศนวัสดุอย่างอื่น

(8.) “งานแพร่เสียงแพร่ภาพ” หมายความว่า งานที่น่าออกสู่สาธารณชนโดย การแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุ โทรทัศน์หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน

(9.) งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

สรุปงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 ได้แก่ งานวรรณกรรม งานนาฎกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานสิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด หรือสามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ คลิก>> https://shorturl.asia/qzwgH

 387 ผู้เข้าชมเว็บไซต์,  2 views today