อานาปานสติ สำหรับคนทั่วไป

บทความนี้ผู้เขียนสรุปมาจากยูทูป เพื่อเผยแพร่ธรรมะ : https://www.youtube.com/watch?v=3dbIaEczJOk

อานาปานสติแบบชาวบ้าน คนทั่วไปยังไม่เข้าใจ คนเป็นบ้าเพราะอานาปานสติได้ ไม่ใช่เรื่องลี้ลับ อัศจรรย์ ขลัง แต่เป็นเรื่องธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ เป็นไปตามกฎธรรมชาติ ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีผลไปเป็นตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ร่างกายเป็นธรรมชาติ แต่ที่ลึกลับเพราะคนไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน หากคนเข้าไปเกี่ยวข้องก็จะไม่ลึกลับ เป็นของปัจจุบันเรื่องอานาปานสติไม่ใช่เรื่องลึกลับ แต่เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นเรื่องของจิตใจที่เกี่ยวน้องกับร่างกาย เป็นวิธีการหนึ่งที่รักษาโรคทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ ถ้ารู้แล้วสามารถไปใช้กิจวัตรประจำวันได้

อานาปานสติ แปลว่า สติที่กำหนดอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดเวลาไม่มีว่างเว้น ทุกครั้งที่หายใจเข้าออกต้องกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดเวลา ตัวอย่าง เราจะเกลียดใครคนหนึ่งเป็นที่สุด เราก็นึกถึงหน้าของเขา นึกถึงความเกลียดชังถึงเขาทุกวันเวลา ความเกลียดชังมา ตรงกันข้ามถ้าเรารักใครก็นึกถึงเขาในแบบเดียวกัน ถ้าเราจะจำอะไรให้แม่น เราต้องจำด้วยตาใน กำหนดลมหายใจเข้าออกเสมอ เราจะจำสิ่งนั้นไม่มีวันลืม

บังคับลมหายใจ จะทำให้สงบทางกาย ความร้อนของร่างกายลดลง ความร้อนร่างกายอ่อนลง เราบังคับโลหิต หัวใจ โดยตรงไม่ได้ แต่เราบังคับทางลมหายใจได้ การบังคับลมหายใจทางอานาปานสติสามารถบังคับเลือดได้ และสามารถบังคับไม่ให้เลือดสูบโลหิตได้ด้วย แต่ไม่ได้ตาย แต่ไม่ได้มุ่งหมายที่จะต้องทำอย่างนั้น เพื่อหยุสังขาร หยุดลมหายใจ หยุดเรื่องปรุ่งแต่งจิต หยุดปรุงจิต ทำกายสังขารให้สงบอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก

เราบังคับร่างกายได้โดยบังคับผ่านทางลมหายใจ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทุกอย่างเกี่ยวกับร่างกาย คือ ลมหายใจกับร่างกายเนื้อหนัง

หมวดที่ 1

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.รู้จากลมหายใจที่ยาว สังเกตลมหายใจยาวเป็นอย่างไร ทุกครั้งที่เข้าออกสติกำหนดความเป็นอยู่อย่างไร ทำไปเรื่อย จนกว่าจะรูว่าธรรมชาติของลมหายใจยาว มันจะรู้หมด

2.รู้จากลมหายใจที่สั้นอย่างไร ดูลมหายใจสั้นเป็นอย่างไร ลมหายใจสั้นกับยาวต่างกันอย่างไร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลมหายใจสั้นเป็นอย่างไร รู้ว่ากายกับลมหายใจสัมพันธ์กันอย่างไร ดูจนเห็นชัดให้ละเอียด บังคับการหายใจให้ละเอียดไปด้วย รู้จักหน้าที่ของมันปฏิบัติต่อร่างกายอย่างไร

3.รู้กายทั้งปวง รู้ว่าลมหายใจนี้ปรุงแต่ง กายที่ลมหายใจกับการเนื้อหนังเป็นอย่างไร รู้ว่ากายกับลมหายใจสัมพันธ์กันอย่างไร ดูจนเห็นชัดให้ละเอียด บังคับการหายใจให้ละเอียดไปด้วย รู้จักหน้าที่ของมันปฏิบัติต่อร่างกาย

4.ทำลมหายใจให้ระงับลง เราผ่อนลมหายใจให้ละเอียดลงให้สั้นยาวลงอย่างปกติ ร่างกายจะสงบลง เย็นลง ทำให้เกิดความสุข เป็นอุบายที่ให้ร่างกายละเอียดเป็นธรรมชาติ เราต้องนั่งให้เหมาะสม นั่งขัดสมาธิ เป็นฐานที่จะรองรับตัวไม่ให้ล้ม ท่านั่งดอกบัว ตัวตรง เมื่อกระดูกสันหลังตรงการหายใจสมบูรณ์สะดวกคล่องตามทำธรรมชาติทำจมูกให้โล่งทั้งสองข้าง

พระพุทธเจ้าเอามาใช้เป็นประโยชน์ตามธรรมชาติ เราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายเพื่อไม่ให้เป็นทุกข์ เราต้องดูว่าสิ่งทั้งหลายในลักษณะนี้ไม่น่ายึดมั่นถือมันให้ชัดอยู่ทุกครั้งขณะที่กำหนดลมหายใจเข้าออก อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น

อุปทาน ยึดมันถือมั่นด้วยความโง่ด้วยอวิชา ต้องทำด้วยอวิชาจึงเป็นอุปทาน ยึดมั่นถือมั่นที่เป็นทุกข์ ให้เห็นว่ามันน่าระอา น่าเกลียด ไม่น่ายึดมั่นถือวันมาทำในใจให้โดยแยบคายทุกครั้งที่หายใจเข้าออกควรชัดมันจะจางหายไปสักวันหนึ่งมันก็หมดไป

สรุป เราอย่าให้จิตที่ไม่อยากยึดมั่นถือมั่นจนเป็นทุกข์ เราจะบังคับวิชาอย่างนั้นในทางที่เกิดได้ไม่ได้ เราจะบังคับจิตให้ได้อย่างไร เมื่อบังคับจิตให้ได้ก่อน แล้วจึงบังคับการยึดมั่นถือมั่นได้
บังคับจิตให้ได้อย่างไรโดยเริ่มทำอานาปานสติขั้นต้น มันได้ผลอย่างอื่นด้วย บังคับจิตให้กำหนดที่ลมหายใจ ทำให้รู้จากลมหายใจทำให้ลมหายใจอ่อนกำลังในการปรุงแต่งร่างกาย

หลักธรรมชาติร่างกายกับลมหายใจมันสัมพันธ์กันอยู่เรื่อย จนเรียกว่าลมหายใจว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง จึงไม่สามารถแยกจากกายได้ กายคือเนื้อหนัง กายคือลมหายใจ ก็เรียกว่ากายเหมือนลมหายใจ ถ้าไม่หายใจก็คือตาย ร่างกายเป็นหนึ่งหล่อเลี้ยงด้วยลมหายใจ เมื่อร่างกายอยู่ได้ก็ทำให้หายใจอยู่ได้ กายและลมหายใจสัมพันธ์กัน ลมหายใจคือกายชนิดหนึ่ง

ถ้าลมหายใจหยาบกายก็หยาบ ถ้ากายหยาบลมหายใจก็หยาบ เราจะทำให้หยุดกะวนกระวาย จะบังคับร่างกายโดยตรงทำไม่ได้ แต่หันมาบังคับลมหายใจให้สงบ ร่างกายละเอียดลงจึงทำให้กายสงบละเอียดลงนั้นเอง

ขั้นที่ 1 หัดวิ่งตาม ลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออก ลมหายใจที่สะดือมาสุดที่จมูก จากจมูกมาสุดที่สะดือ หายใจให้แรงให้เกิดเสียงซูดซาด เราดูว่าเป็นอย่างไร ฝึกหัดจนกว่าจะหายใจตามปกติ อย่าท้อถอย บังคับจิตวิ่งตามลมหายใจเข้าออก

ขั้นที่ 2 ไม่วิ่งตามแล้ว แต่จะเฝ้ารอที่จมูก ถ้าทำขั้นที่ 1 ให้ได้ก่อน จึงทำขั้นที่ 2 เป็นนายประตูเฝ้าดูที่จุดนั้น จะเป้นสมาธิขึ้นเป็นอันดับแรก จะมีความสุขขึ้นมา สามารถหาการพักผ่อนปลดเปลี้ยงความวิตกกังวลความทุกข์ได้แล้ว เรียกว่า อุคคหนิมิต

ขั้นที่ 3 ให้เห็นเป็นดวงขึ้นมา เป็นจุดอะไรก็ได้ จะเป็นการจินตนาการขึ้นมาสร้างภาพขึ้นมาแทน ขั้นตอนนี้จะบังคับจิตเราได้มากขึ้น ต่อไปน้อมจิตเข้าไปที่จุดนั้นให้เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งไม่ใช่คุณวิเศษแต่เป็นธรรมชาติ บังคับให้เปลี่ยนสีได้ตามใจ เมื่อเราบังคับได้ถือว่าเราเป็นนายเหนือจิต เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ถึงขั้นที่จะเกิดฌานได้แล้ว เรียกว่าปฐมฌานแล้ว ทำให้รู้สึกว่ากการหายใจเข้าออกสม่ำเสมอ และนิมิตปรากฎดีแล้วน้อมจิตให้เกิดความรู้สึกกำหนดนิมิตนั้นอยู่รู้สึกในอารณ์อื่นก็รู้สึกด้วย เรียกว่า ปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เอกคตา เท่านั้นก็เกินพอแล้วสำหรับบุคคลทั่วไป การทำอย่างนี้ช่วยปัดเป่าออกจากจิตใจ แก้ปวดหัวได้ แก้อาการหงุดหงิดได้ อาการนอนไม่หลับก็หลับได้ หรือมีบาดแผลเลือดไหลก็หยุดได้ ต้องการให้เรียนหนังสือเก่งก็ทำได้

หมวดที่ 2

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นการบังคับจิตใจโดยตรง

ขั้นที่ 1 เอาความสุขกับเวทนามากำหนด ปีติที่เกิดขึ้นเอามาพิจารณา รู้สึกต่อให้เป็นสุดด้วยความพอใจ กำหนดตัวที่ความสุขกำหนดปีติแล้วจะเกิดความสุข เช่นเดียวกับการกำหนดลมหายใจเข้าออก

ขั้นที่ 2 คือแสดงออกเต็มที่

ขั้นที่ 3 รู้ว่าสิ่งนี้คือปรุงแต่งจิต

ขั้นที่ 4 ควบคุมการปรุงแต่งจิตให้น้อยลง

คนเราเป็นทาสของเวทนาทั้งนั้น แม้แต่สัตว์เดรัชฉานต้องการความสุขเวทนา เทวดาก็เช่นกัน ถ้าเรารู้ว่าไม่เป็นทาสของเวทนา ต้องรู้จักเวทนา ไม่หลงในเวทนา เราก็สงบ จะทำให้เวทนาไม่ทำให้อยู่เป็นนายเหนือจิต บีบบังคับเวทนาไม่ให้ปรุงแต่งจิต พิจารณาคิดนึกเห็นว่าเวทนามันหลอกลวง มายา สุขเวทนา ทุกขเวทนาหลอกลวง พอรู้ว่าเวทนาหลอกลวง ทำให้เวทนาสลด ถอยลงกระตุ้นจิต

หมวดที่ 3
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน บังคับจิตโดยตรง เรามีอำนาจเหนือจิตที่สมบูรณ์ จิตจะเป็นคนรับใช้

หมวดที่ 4
เอาจิตที่ดีมาพิจารณาความไม่เที่ยง ดูทั้งใน ดูลมหายใจ กายก็ไม่เที่ยง ลมหายใจก็ไม่เที่ยง จิตก็ไม่เที่ยง สำคัญดูเวทนา สุขหรือทุกข์ก็ไม่เที่ยง

คลายความยึดมั่นถือมั่น มันหยุดมันคลายและเย็นลงไปเอง ให้แน่วแน่จนไม่มีแก่จิตแล้ว จะเกิดมรรคผลนิพพานได้ ทั้งหมดนี้เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตใจ เพราะการกำหนดลมหายใจเป็นอานาปานสติ เป็นเรื่องของจิต เราจะชนะวิธีอันชั่วร้ายโดยวิธีบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจจนใช้มันทำลายกิเลสได้ มีวิธีการเดียวเท่านั้นที่จะทำให้คนเราไม่เป็นทุกข์ ไม่เป็นไปตามสัญชาติญาณ ไม่ให้เกิดความรัก โลภ โกรธ หลง เราควบคุมมันได้ ภาวนา แปลว่า เจริญ ถ้าทำได้ถือว่ามีสติปัฏฐาน 4 ครบถ้วน

เครดิต : https://www.youtube.com/watch?v=3dbIaEczJOk

 379 ผู้เข้าชมเว็บไซต์,  2 views today