เครื่องหมายการค้าอนุญาตให้คนอื่นใช้ได้หรือไม่

ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าได้รับการจดทะเบียนแล้ว หากต้องการอนุญาตให้คนอื่นใช้จะคิดค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ตามกฎหมายได้กำหนดวิธีการและเงื่อนไขไว้ ดังต่อไปนี้

เครื่องหมายการค้าอนุญาตให้คนอื่นใช้ได้หรือไม่ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 68 บัญญัติว่า เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วจะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตน สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมด หรือบางอย่างก็ได้

สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

การขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตดังกล่าวตามวรรคสอง ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่คำขอจดทะเบียนนั้นอย่างน้อยต้องแสดงรายการดังต่อไปนี้

(1) เงื่อนไขหรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาต ที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น สามารถควบคุมคุณภาพ ของสินค้าของผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตได้ อย่างแท้จริง

(2) สินค้าที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น

การอนุญาตให้คนอื่นใช้เครื่องหมายการค้า สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน (มาตรา 68 วรรคสอง) ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 บัญญัติว่า “การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ” กล่าวคือ คู่สัญญาไม่สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมาย หรือสามารถชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ คลิก>>https://bit.ly/3I18iRK

 2,400 ผู้เข้าชมเว็บไซต์,  2 views today